Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

บทประพันธ์ที่นำมาทำซ้ำๆ

ผู้กองยอดรัก





ผู้กองยอดรัก ยอดรักผู้กอง และ ผู้กองอยู่ไหน เป็นนวนิยายของ กาญจนา นาคนันทน์ เป็นเรื่องราวของความรักของพลทหารกับผู้กองสาวเจ้าเสน่ห์ที่แฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง ถูกนำมาสร้างทำเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง (พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2524) และละครโทรทัศน์ถึง 6 ครั้ง (พ.ศ. 2515, พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2550) โดยแต่ละครั้งจะมีชื่อเรื่องต่างกัน เช่น ผู้กองยอดรัก, ยอดรักผู้กอง, ผู้กองยอดรัก ยอดรักผู้กอง และ ผู้กองอยู่ไหน

ละครโทรทัศน์

บทประพันธ์นี้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 แสดงโดย ชุมพร เทพพิทักษ์ และกนกวรรณ ด่านอุดม ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม 

ครั้งที่ 2 ออกอากาศทาง ช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2522 สร้างโดย รัศมีดาวการละคร นำแสดงโดย นิรุตติ์ ศิริจรรยา และดวงใจ หทัยกาญจน์ ได้รับความนิยมอย่างมาก ถือว่าโด่งดังมากมายเลยทีเดียว

ต่อมา ออกอากาศทาง ช่อง 9 ถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 สร้างโดย สีบุญเรืองสยามสตูดิโอ นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์, สาวิตรี สามิภักดิ์ และในปี พ.ศ. 2538 สร้างโดย อัครมีเดีย นำแสดงโดย วรุฒ วรธรรม, ชลิตา เฟื่องอารมย์, หนู เชิญยิ้ม
ส่วนในปี พ.ศ. 2545 ออกอากาศทาง ช่อง 3 สร้างโดย อาร์เอส นำแสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์, กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน

และครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 ออกอากาศทาง ช่อง ITV สร้างโดย ทีวี ธันเดอร์ นำแสดงโดย เกียรติกมล ล่าทา, ไดอาน่า จงจินตนาการ












http://www.galaxzydvd.com/image/mypic_product/pookong.jpg



ความคิดเห็นเกี่ยวกับการ  Remake ละคร


คือผมคิดว่า การที่เอาหนังเก่ามาเเสดงใหม่นั้นมีอยู่หลายๆเหตุผล คือ 
1.  หนังเรื่องนั้นอาจจะมีเนื้อหาดี 
2.  หนังเรื่องนั้นเป็นยอดนิยมของสังคม   
3.  หนังเรื่องนั้นมีการตลาดที่ดี 
4.  เพื่อปรับเเต่หนังให้ทันสมัยมากขึ้กว่าเดิม โดยใช้ตัวระครที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังในยุคปัจจุบัน
5.  เพื่อต้องการที่จะตีตลาดใหม่ 
6.  เป็นการทำตามเสียงเรียกร้องของประชาชน 







นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอล

นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอล
                          
                          



ปัจจุบันโลกของเราได้มีการนำสื่อใหม่มาใช้ จนกลายมาเป็นยุคดิจิตอลซึ่งในยุคดิจิตอลนี้ก็มีความทันสมัยไวต่อเหตุการณ์จึงทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ละทิ้งสื่อเก่าไปและหันมาให้ความสำคัญกับสื่อใหม่มากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการสื่อสารโทรคมนาคมและอื่นๆอีกมากมาย ปัจจุบันมีการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ Social Network ต่างๆหลากหลายและกำลังเข้ามามีบทบาทหน้าที่ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบันจึงจำเป็นที่นักนิเทศศาสตร์ไม่ว่าจะในแขนงใด จะต้องมีความรู้ในด้านไอทีอยู่ไม่มากก็น้อยผ่านมาจะเห็นว่าจากเดิมที่หลักสูตรจะผลิตบุคลากรให้ออกมาเป็น นักข่าว นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ การเรียนการสอนเป็นสาขาวิชาเดี่ยวๆ นักศึกษาที่จบออกไปก็จะมีความรู้เฉพาะสาขาด้านนั้นๆแต่ยุคสมัยได้มีการเปลี่ยนไป จะเห็นว่าองค์กรสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็น วิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อออนไลน์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิตประจำวันนั้นไม่ได้มีแค่ทางๆเดียวเพราะเทคโนโลยีสมัยนี้มันวิวัฒนาการไปอย่ารวดเร็ว และในสังคมไทยในปัจจุบันนี้การใช้สื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ และสื่อออนไลน์ต่างๆมันได้ปรับตัวผนวกเข้าหากันได้อย่างง่ายดาย ทำให้การรับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพมมากขึ้นและรวดเร็วและอย่างอิสระ




นักนิเทศศาสตร์ในยุคนี้จะเห็นได้ว่า Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  โดยผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้นสื่อออนไลน์ หรือ (Social Net work) พวกนี้สามารถเชื่อมต่อการเชื่อมโยงกันทำให้เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้เป็นทอดๆต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆได้ง่ายและเมื่อเราแชร์ ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกันได้  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น หรือ กดไลค์ กับสิ่งที่แสดงขึ้นบนสื่อออนไลน์เหล่านั้น

            ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตอลคนหนึ่งเราต้องเรียนรู้และสามารถแยกแยะระหว่างประโยชน์และโทษของการใช้สื่อออนไลน์ อีกทั้งเรายังสามารถนำสื่อพวกนี้มาพัฒนาตัวเองให้เกิดประโยชน์และพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย.